คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Thursday, April 25, 2019

เที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ วนอุทยานเขากระโดง

วนอุทยานเขากระโดง


วนอุทยานเขากระโดง  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วรอบ บริเวณปกคลุมด้วยป่าไม้ ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก โดยเฉพาะนกนานาชนิด เดิมชื่อเดิม คือ "พนมกระดอง" เป็นภาษาเขมร แปลว่า ภูเขากระดอง (เต่า) เป็นภูเขาที่มีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น "กระโดงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจและศึกษาประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยา เพราะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานกู่เขากระโดง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง และมี “พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่ คู่เมืองบุรีรัมย์บนยอดเขาการขึ้นไปเขากระโดง ทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันไดจำนวน 297 ขั้น หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา
วนอุทยานเขากระโดง
สิ่งที่น่าสนใจในวนอุทยานเขากระโดง


พระสุภัทรบพิตร 
เป็นพระพุทธรูปคู่เมือง ภายในเศียรบรรจุพระธาตุ ประดิษฐานอยู่บนเขากระโดง เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐฉาบปูนขนาดใหญ่ หน้าตัก กว้าง 12 เมตร ฐานยาว 14 เมตร หันหน้าไปทางทิศเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2512 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นายสุรวุฒิ บุญญานุสาสน์ ในขณะนั้น ร่วมกับพ่อค้าประชาชนและผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในความคิดและโครงการต่างๆ ของหลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต อดีตเจ้าอาวาสวัดเขากระโดง ได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้นบริเวณยอดเขากระโดง เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของ พุทธศาสนิกชนทั่วไป จากจุดที่ตั้งขององค์พระสามารถมองเห็นทัศนียภาพของตัวเมืองบุรีรัมย์ได้

ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง
ปากปล่องภูเขาไฟเขากระโดง มีอายุประมาณ 3 แสนถึง 9 แสนปี สูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร ซากปากปล่องเป็นรูปพระจันทร์ ครึ่งซีก ยอดเนินเขาเป็นขอบปล่องด้านทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนยอดเนินเป็นขอบปล่องด้านทิศเหนือเรียกว่า เขาน้อย หรือ เขากระโดง ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องปะทุคือ บริเวณที่เป็นหุบเขา ปัจจุบันมีสภาพเป็นสระน้ำเป็นซากภูเขาไฟที่ยังคง สภาพดีและ มีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย มีเส้นทางเดินชมรอบปล่องและมีสะพานแขวนให้ยืนชมจากมุมสูงได้อย่างชัดแจน

สะพานพิสูจน์ศรัทธาสาธุชน (บันไดนาคราช)
สร้างขึ้นเมื่อปี 2512 เพื่อเป็นทางเดินขึ้นไปสักการะบูชาพระสุภัทรบพิตร ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขากระโดง จำนวน 297 ขั้น ชมการละเล่น พื้นบ้านในงานประเพณีขึ้นเขากระโดง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และร่วมทำบูญงานประกวดกวน ข้าวทิพย์– ตักบาตรรเทโวโรหณะ ในช่วงก่อนวันออกพรรษาและวันออกพรรษาของทุกปี

การเดินทางไปวนอุทยานเขากระโดง

- เส้นทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้าย เข้าวนอุทยานฯ
ข เส้นทางจากจังหวัดนครราชสีมา ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (นครราชสีมา-สุรินทร์) ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานฯ
- เส้นทางจากจังหวัดสุรินทร์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ระยะทาง 50 กิโลเมตร พบสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายไปอำเภอประโคนชัย ประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าวนอุทยานฯ

ขอบคุณแหล่งที่มา https://www.paiduaykan.com

No comments:

Post a Comment