คาสิโนออนไลน์

คาสิโนออนไลน์
คาสิโนออนไลน์

Thursday, April 25, 2019

แหล่งท่องเที่ยงเชิงประวัติศาสตร์ ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

ปราสาทเมืองต่ำ


ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทาง ทิศใต้เป็นระยะทาง ประมาณ 64 กิโลเมตร สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16-17  เพื่อถวายพระศิวะมีลักษณะเป็นศาสนสถาน ประจำเมืองหรือประจำชุมชน  ปราสาทหินเมืองต่ำมีรูปแบบที่แตกต่างจากปราสาทแห่งอื่นๆ ที่จะมีปรางค์องค์ใหญ่ตรงกลางและล้อมรอบด้วยปรางค์ขนาด เล็กกว่าทั้ง 4 มุม ลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลง อันเดียวกัน เรียงเป็น 2 แถวตามแนวทิศเหนือใต้ แถวหน้า 3 องค์ องค์กลางมี ขนาดใหญ่กว่าปรางค์อื่น ส่วนแถวหลังมีปรางค์อิฐจำนวน 2 องค์ วางตำแหน่งให้อยู่ระหว่างช่อง ของปรางค์ 3 องค์ ในแถวแรก ทำให้สามารถมองเห็น ปรางค์ทั้ง 5 องค์ พร้อมกันโดยไม่มี องค์หนึ่งมาบดบัง คำว่า เมืองต่ำไม่ใช่ชื่อดั้งเดิม แต่เป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองเรียกโบราณ สถานแห่งนี้ เพราะปราสาทแห่งนี้ ตั้งอยู่บน พื้นราบ ส่วนปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนเชิงเขา ซึ่งทั้งปราสาทเมืองต่ำและปราสาทพนมรุ้งอยู่ไม่ห่างกันมาก คือห่างกันเพียง 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ วัสดุส่วนหนึ่งจากโบราณสถาน และโบราณวัตถุของปราสาทเมืองต่ำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงนำมาเป็นส่วนประกอบ ในการทำพระเครื่อง ที่เรียกว่า "พระสมเด็จจิตรลดา" อีกด้วย 

องค์ประกอบภายในปราสาทเมืองต่ำ
สระน้ำระเบียงคด
สระน้ำ 4 สระ ล้อมรอบระเบียงคดมีลักษณะเป็นรูปตัวแอล ก่อสร้างด้วยศิลาแลงเป็นขั้นบันไดลงไปถึงก้นสระ ขอบสระด้านบนแกะสลัก ด้วยหินทราย เป็นลำตัวนาคที่มุมสระสลักเป็นนาค 5 เศียร สระน้ำทั้ง 4 สระนี้ ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สระน้ำที่ล้อมรอบ ปราสาทประธานได้แสดงถึง มหาสมุทรทั้ง 4 ที่ ล้อมรอบเขาพระสุเมรุตามคติพราหมณ์ดังได้กล่าวมาแล้ว ลักษณะเป็นสระน้ำหักมุมฉาก อยู่ทั้ง 4 ทิศ สันนิษฐานว่าใช้กักเก็บน้ำในการ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ความโดดเด่นที่สำคัญอีกอย่างคือ นาคที่ขอบสระทั้ง 4 เป็นนาคแบบเศียรโลนไม่มีแผงรัศมี ซึ่งเป็นศิลปะแบบบาปวนอย่างแท้จริง นาคนั้นไม่มีหาง ซึ่งปรายสุดของนาคจะมีเศียรจลดหัวท้าย
ภาพสลักดอกบัวแปดกลีบ
บริเวณพื้นกลางห้องภายในซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก มีการสลักเป็นลายเส้นรูปดอกบัว 8 กลับ ซึ่งอาจหมายถึงจุดกำหนดในการ ตั้งจิตอธิษฐานบูชา เทพเจ้า หรือหมายถึงการจำลองแผนผังของจักรวาล อันประกอบด้วยทิศสำคัญทั้ง 8 ทิศ


ระเบียงคดและซุ้มประตู ระเบียงคด เป็นแนวกำแพงชั้นในของโบราณสถาน ก่อสร้างด้วยหินทรายเชื่อมต่อกันโดยรอบ ล้อมรอบ กลุ่มปราสาทอิฐ ภายในห้องกว้าง ประมาณ 2 เมตร พื้นปูด้วยศิลลาแลง ที่บริเวณกึ่งกลางของระเบียบคดทุกด้านก่อสร้างเป็นซุ้ม ประตูในแนวเดียวกันกับซุ้มประตูของกำแพงแก้ว
ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทราย สลักภาพพระศิวะคู่กับ พระอุมาประทับนั่งเหนือโคนนทิ เรียกภาพตอนนี้ว่า "อุมามเหศวร" 
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือ
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมเคยมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทรายสลักภาพพระกฤษณะยกภูเขา โควรรธนะ เพื่อปกป้อง คนเลี้ยงวัวและฝูงวัวให้พ้นภัยจากพายุฝน
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้
ปราสาทแถวหลังองค์ทิศใต้ ก่อสร้างด้วยอิฐ เดิมมีลวดลายปูนปั้นประดับ ทับหลังทำจากหินทรายสลักภาพเทพเจ้าประทับนั่งเหนือหงส์ สันนิษฐานว่าเทพเจ้านี้ หมายถึงพระวรุณเทพผู้รักษาทิศตะวันตก
ปรางค์ประธาน
ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงกลางเยื้องมาข้างหน้าเล็กน้อย ระหว่างปรางค์บริวารทั้งสองมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์บริวารอีก 4 องค์ ทับหลังเป็นหินทราย ปัจจุบันปรางค์ประธานได้ถล่มลงมาแล้วคงเหลือเฉพาะฐานที่ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะอาคารใช้อิฐเป็นวัสดุ ก่อสร้างหลัก พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่า ตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย นอกจากนี้ยังได้ พบหลักฐานลวดลายปูนปั้นประดับ ซึ่งสร้างถวายพระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพราะได้มีการขุดพบศิวลึงค์ซึ่งเป็นรูปเคารพแทน องค์พระศิวะ และพบทับหลังสลักพระศิวะ ในปาง "กัลยาณะสุนทะระมูรติ" ส่วนบนของทับหลังจำหลักภาพฤๅษีนั่งประนมมือเป็นแถว จำนวน 7 ตน
กลุ่มปราสาทอิฐ
เป็นอาคารสำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรงกลางของตัวปราสาทเมืองต่ำ ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพและประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า ประกอบ ด้วยปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันองค์ปราสาทก่อด้วยอิฐเรียงเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ และแถวหลัง 2 องค์ กลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์นี้แสดงสัญลักษณ์แทน เขาพระสุเมรุศูนย์กลางจักรวาลปราสาทประธาน ส่วนตรงกลางคือส่วนปรางค์ประธาน ซึ่งได้ปรักหักพังเหลือเพียงฐาน
บรรณาลัย
บรรณาลัย 2 หลัง ก่อสร้างด้วยอิฐ อยู่บริเวณด้านหน้าของกลุ่มปราสาทอิฐ ข้างละ 1 หลัง ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขและประตูทางเข้า ด้านทิศตะวันตกด้านเดียว ส่วนผนังหลังคาพังลงหมดเหลือเพียงกรอบประตูและทับหลัง จากรูปแบบของอาคาร เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ ตำราทางศาสนา หรืออาจเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพ
ปราสาทประกอบ
ปราสาทประกอบอีก 4 หลังเป็นปราสาทอิฐ ปัจจุบันได้รับการบูรณะในสภาพสมบูรณ์ และมีหน้าบันด้านหน้าอยู่ครบ โดยปราสาทแถว หลังองค์ทิศใต้ มีหน้าบันเป็นภาพพระวรุณเทพประทับเหนือหงษ์ ปราสาทแถวหลังองค์ทิศเหนือเป็น ภาพพระกฤษณะ (ร่างอวตารขอ พระวิษณุ) ยกภูเขาโควรรธนะ ปราสาทแถวหน้าองค์ทิศใต้เป็นภาพพระอินทร์ปางมหาราชลีลาสนะ (นั่งชันเข่า) ประทับเหนือ หน้ากาลส่วนปราสาทแถวหน้าองค์ทิศเหนือ เป็นภาพพระศิวะคู่พระอุมาประทับบนโคนนทิในปางอุมามเหศวร 
ปราสาทเมืองต่ำเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา  8.30 น. – 16.30 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท 
การเดินทางไปปราสาทเมืองต่ำ
ใช้เส้นทางบุรีรัมย์-นางรอง-พนมรุ้ง เข้าไปปราสาทเมืองต่ำระยะทางแยกเข้าไปประมาณ 83 กิโลเมตร หรือจะไปเส้นทางบุรีรัมย์-ประโคนชัย เข้าประสาทเมืองต่ำ ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร อีกเส้นทางหนึ่งคือ สายประโคนชัย-บ้านกรวด ซึ่งเป็นเส้นแยก สายตะโก-พนมรุ้ง-ละหานทรายก็ได้

ขอบคุณแหล่งที่มา www.paiduaykan.com

No comments:

Post a Comment